วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สิ่งแวดล้อมหมายถึง
สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม สิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ (เกษม, 2540) จากคำจำกัดความดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อม คือ สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา แต่ คำว่า "ตัวเรา" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวมนุษย์เราเท่านั้น โดยความเป็นจริงแล้ว ตัวเรานั้นเป็นอะไรก็ได้ที่ต้องการศึกษา/รู้ เช่น ตัวเราอาจจะเป็นดิน ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมดิน หรืออาจจะเป็นน้ำ ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีข้อสงสัยว่า สิ่งที่อยู่รอบตัวเรามีรัศมีจำกัดมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าสิ่งต่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ได้มีขอบเขตจำกัด มันอาจอยู่ใกล้หรือไกลตัวเราก็ได้ จะมีบทบาทหรือมีส่วนได้ส่วนเสียต่อตัวเราอย่างไรนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งนั้นๆ เช่น โศกนาฏกรรมตึกเวิร์ดเทรด ซึ่งตัวมันอยู่ถึงสหรัฐอเมริกา แต่มีผลถึงประเทศไทยได้ในเรื่องของเศรษกิจ เป็นต้น
[แก้ไข] ประเภทของสิ่งแวดล้อม
        จากความหมายของสิ่งแวดล้อมดังกล่าวสามารถแบ่งสิ่งแวดล้อมได้เป็น 2 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural environment) และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Mode Environment)
[แก้ไข] 1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ( Natural Environment)
        แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต) และสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต
        1. 1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) แบ่งได้ดังนี้
        1.1.1 บรรยากาศ (Atmosphere) หมายถึงอากาศที่ห่อหุ้มโลก ประกอบด้วย กา๙ชนิดต่างๆ เช่น โอโซน ไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่นละออง และไอน้ำ
        1.1.2 อุทกภาค (Hydrosphere) หมายถึงส่วนที่เป็นน้ำทั้งหมดของพื้นผิวโลก ได้แก่ มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ ฯลฯ
        1.1.3 ธรณีภาค หรือ เปลือกโลก(Lithosphere) หมายถึง ส่วนของโลกที่เป็นของแข็งห่อหุ้มอยู่รอบนอกสุด ของโลกประกอบด้วยหินและดิน
        1.2 สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biotic Environment) ได้แก่ พืช สัตว์ และมนุษย์
[แก้ไข] 2 . สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น(Man-Mode Environment)
        แบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้
        2.1 สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม (Concrete Environment) ได้แก่ บ้านเรือน ถนน สนามบิน เขื่อน โรงงาน วัด
        2.2 สิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Abstract Environment)ได้แก่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา กฎหมายระบบเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง เป็นต้น

องค์ประกอบของสิ่งแว้ดล้อม

       สิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์  ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีองค์ประกอบ ประการดังนี้            
                  1.   ลักษณะภูมิประเทศ
                  2.   ลักษณะภูมิอากาศ
                  3.  ทรัพยากรธรรมชาติ   
ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ
            1.  พลังงานภายในเปลือกโลก  ทำให้เปลือกโลกผันแปร  บีบอัดให้ยกตัวสูงขึ้น  กลายเป็นภูเขาที่ราบสูง  หรือทรุดต่ำลง  เช่น เหว  แอ่งที่ราบ
             2.  ตัวกระทำทางธรรมชาติภายนอกเปลือกโลก  ทำให้เปลือกโลกเกิดการสึกกร่อนพังทลายหรือทับถม  ได้แก่  ลม  กระแสน้ำ ธารน้ำแข็ง
             3.   การกระทำของมนุษย์  เช่น  การสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทาน   การตัดถนนเข้าไปในป่า  ทำให้ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่นั้นๆเปลี่ยนไปจากเดิม
ความสำคัญของลักษณะภูมิประเทศ
          1.  ความสำคัญต่อมนุษย์  ลักษณะภูมิประเทศมีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน  การประกอบอาชีพของมนุษย์  เช่น  ที่ราบลุ่มแม่น้ำ
            2.  ความสำคัญต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น  ภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูง  ย่อมมีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศของท้องถิ่น  เช่น  ทำให้เกิดเขตเงาฝน
           3.   ความสำคัญต่อทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น  เขตเทือกเขาสูง  ย่อมอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ  ป่าไม้และสัตว์ป่า
ประเภทของลักษณะภูมิประเทศ
          ลักษณะภูมิประเทศจำแนกได้ 2 ประเภท  ดังนี้
                 1.  ลักษณะภูมิประเทศอย่างใหญ่  เห็นได้ชัดและเกิดในอาณาบริเวณที่กว้างขวาง  เป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวภายในของเปลือกโลก  ทำให้เปลือกโลกยกตัวขึ้นสูงหรือทรุดต่ำลง  โดยคงลักษณะเดิมไว้นานๆ  เช่น  ที่ราบ  ที่ราบสูง  เนินเขา  และภูเขา
                2.   ลักษณะภูมิประเทศอย่างย่อย  มีอาณาบริเวณไม่กว้างนัก  อาจเปลี่ยนแปลงรูปได้  มักเกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง  กระแสลม คลื่น  เช่น  แม่น้ำ ทะเลสาบ  อ่าว  แหลม  น้ำตก
ประเภทของที่ราบ แบ่งตามลักษณะของการเกิด
           1.  ที่ราบดินตะกอน  พบตามสองฝั่งของแม่น้ำ  เกิดจาการทับถมของดินตะกอนที่น้ำพัดพา
           2.  ที่ราบน้ำท่วมถึง  เป็นที่ราบลุ่มในบริเวณแม่น้ำ  มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน  เกิดจากการทับถมของดินตะกอนหรือวัสดุน้ำพา
           3.  ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำบริเวณปากแม่น้ำ  เกิดจากการทับถมของโคลนตะกอนวัสดุน้ำพาจนกลายเป็นที่ราบรูปพัด
           4.  ลานตะพักลำน้ำ  คือ  ที่ราบลุ่มแม่น้ำอีกประเภทหนึ่ง  แต่อยู่ห่างจากสองฝั่งแม่น้ำออกไป  น้ำท่วมไม่ถึง  ดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์  บางที่เรียกว่า  ที่ราบขั้นบันได
ความสำคัญของภูมิอากาศ
          1.  ความสำคัญที่มีต่อลักษณะภูมิประเทศ  ภูมิอากาศทำให้ท้องถิ่นมีลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกัน
             2.  ความสำคัญที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น  ภูมิอากาศร้อนชื้น  ฝนชุก  จะมีทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าบางชนิดชุกชุม
             3.  ความสำคัญที่มีต่อมนุษย์  ภูมิอากาศย่อมมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่  การแต่งกาย  บ้านเรือน
ปัจจัยที่มำให้ภูมิอากาศของท้องถิ่นต่างๆมีความแตกต่างกัน
              1.  ที่ตั้ง  คือ  ละติจูดของพื้นที่
              2.  ลักษณะภูมิประเทศ  คือ  ความสูงของพื้นที่
              3.  ทิศทางลมประจำ  เช่น  ลมประจำปี
              4.   หย่อมความกดอากาศ
              5.   กระแสน้ำในมหาสมุทร

สาเหตุของสิ่งแวดล้อม
1. การเพิ่มของประชากร (Population growth) ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยังอยู่ในอัตราทวีคูณ (Exponential Growth) เมื่อผู้คนมากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้นทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน
2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) ความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นทำให้มาตรฐานในการดำรงชีวิตสูงตามไปด้วย มีการบริโภคทรัพยากรจนเกินกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีก็ช่วยเสริมให้วิธีการนำทรัพยากรมาใช้ได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น


ผลที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
ผลที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
    
ผลสืบเนื่องอันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เนื่องจาก มีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนน้ำ ภาวะมลพิษ (Pollution) เช่น มลพิษในน้ำ ในอากาศและเสียง มลพิษในอาหาร สารเคมี อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดทางด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง
    กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น
     1.ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ   ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย
     2. ปัญหามลพิษที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนมีมากมาย มิใช่แต่เพียงมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ หรือทางดินที่เรารู้จักกันดีเท่านั้น การที่สภาวะแวดล้อมของเราเปลี่ยนแปลงไปตามความจำเป็นของการพัฒนาบ้านเมือง ซึ่งจะหยุดอยู่กับที่ไม่ได้นั้น หากมิได้มีการวางแผนอย่างถี่ถ้วนรัดกุม การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นอาจกลายเป็นปัญหามลพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้คนได้
ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ หมายถึง หน่วยของความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่ง มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก 2 คำ คือOikos แปลว่า บ้าน, ที่อยู่อาศัย,แหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตLogos แปลว่า เหตุผล, ความคิด== ความหมายของคำต่างๆ ในระบบนิเวศ ==สิ่งมีชีวิต (Organism)หมายถึง สิ่งที่ต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิต ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้1. ต้องมีการเจริญเติบโต2. เคลื่อนไหวได้ด้วยพลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกาย3. สืบพันธุ์ได้ 4. ประกอบไปด้วยเซลล์5. มีการหายใจ6. มีการขับถ่ายของเสียต่างๆ7. ต้องกินอาหาร หรือแร่ธาตุต่างๆประชากร (Population)หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เป็นชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ณ ช่วงเวลาเดียวกันกลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community)หมายถึง สิ่งมีชีวิตต่างๆ หลายชนิด มาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตนั้นๆ มีความสัมพันธ์กัน โดยตรงหรือโดยทางอ้อมโลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere)หมายถึง ระบบนิเวศหลายๆ ระบบนิเวศมารวมกันแหล่งที่อยู่ (Habitat)หมายถึง แหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งบนบกและในน้ำสิ่งแวดล้อม
ความสัมพันธุ์ระหว่างมนูษย์กับระบบนิเวศ


           วิถีการดำเนินชีวิต กระบวนการผลิตด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม มีส่วนทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง และนำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อม
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษณ์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต
            2.สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต(Biological environment/Biotic factor) สิ่งมีชีวิตอื่นๆที่อยู่ล้อมรอบและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตนั้นๆโดยอาจแบ่งตามบทบาทของการกินอาหาร(Trophic level) หรือลำดับการส่งถอดพลังงานและสารอาหารได้เป็น
           2.1 ผู้ผลิต(Producer หรือ Autotroph) เป็น Autotrophic Organism สามารถสร้างอาหารได้เองโดยอาศัยคลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุที่ใช้จับพลังงานจากแสงอาทิตย์ เปลี่ยนแปลงสารอาหารที่รับเข้ามาในรูปสารอนินทรีย์ให้กลายเป็นสารอินทรีย์ เรียกกระบวนการดังกล่าวว่า กระบวนการสังเคราะห์อาหารด้วยแสง ซึ่งพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่พืชนำมาใช้นี้คิดเป็นเพียง 0.1 - 0.2% ของพลังงานที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์เท่านั้น นอกจากพืชแล้วสิ่งมีชีวิตอื่นที่สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตได้แก่ สาหร่ายเซลล์เดียว (โดยเฉพาะสาหร่ายสีเขียวจัดว่าเป็นผู้ผลิตที่มีบทบาทมากที่สุดในการสร้างออกซิเจนให้กับโลก) และแบคทีเรีย
          2.2 ผู้บริโภค(Consumer หรือ Phagotroph) เป็น Heterotropic Organism ไม่สามารถสร้างอาหารได้ด้วยตนเอง จะใช้สารอาหารจากผู้ผลิตอีกทีหนึ่ง ผู้บริโภคแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามอาหารที่มันกิน เช่น
- ผู้บริโภคพืช(Herbivore)
- ผู้บริโภคสัตว์(Carnivore)
- ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์(Omnivore)
- ผู้บริโภคซาก(Detritrvore-บริโภคซากอินทรีที่ทับถมในดินหรือScavenger-บริโภคซากตาย)
หรืออาจแบ่งตามลำดับการบริโภคเป็น
- ผู้บริโภคปฐมภูมิ(Primary consumer)ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นผู้บริโภคพืช ซึ่งมีลักษณะสำตัญคือสามารถย่อยเซลลูโลสและเปลี่ยนเนื้อเยื่อพืชให้กลายเป็นเนื้อเยื่อสัตว์ได้
- ผู้บริโภคทุติยภูมิ(Secondary consumer)โดยทั่วไปเป็นสัตว์กินเนื้อของสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารโดยทั่วไปมีขนาดใหญ่และแข็งแรง
- ผู้บริโภคลำดับตติยภูมิ(Tertiary consumer) จตุตถภูมิ(Quatiary consumer)และต่อๆไป
- ผู้บริโภคลำดับสุดท้าย(Top Carnivore)เป็นผู้บริโภคที่มักจะไม่ถูกกินโดยสัตว์อื่นต่อไป
              2.3 ผู้ย่อยสลายอินทรียสาร(Decomposer หรือ Saphotroph)ทำหน้าที่สลายซากและเศษอินทรีย์ต่างๆให้มีขนาดเล็กลงโดยการย่อยภายนอกเซลล์ สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้มีจำนวนมาก แต่เนื่องจากมีขนาดเล็กเมื่อคิดมวลรวมจึงมีน้ำหนักน้อย แต่มีอัตราการเผาผลาญสูงปลดปล่อยพลังงานออกมาเป็นจำนวนมาก สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้จัดเป็น Heterotroph เช่นกันเนื่องจากไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ มันจะดูดซึมอาหารที่มันย่อยโดยการหลั่งเอนไซม์ออกไปย่อยซากอินทรีย์ที่อยู่ในธรรมชาติจนมีขนาดเล็กลง จนอาจกลายเป็นสารอนินทรีย์รูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ นับว่ามีบทบาทสำคัญในวัฎจักรการหมุนเวียนสารอินทรีย์-สารอนินทรีย์
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษณ์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต
1.สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Physical environment/Abiotic factor) ซึ่งประกอบด้วย สารประกอบอินทรีย์และอนินทรีย์(Abiotic substant)และสภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่ว่าจะเป็น
-สภาพภูมิอากาศ:อุณหภูมิ น้ำ ความชื้น แสง ลม
-ลักษณะทางธรณีวิทยา: ดิน หิน แร่ธาตุ
-การเปลี่ยนแปลงจากสิ่งรบกวน(Disturbance):
การรบกวนตามธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด ไฟ แผ่นดินไหว พายุ
การรบกวนที่มีสาเหตุจากมนุษย์
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพไม่ว่าจะเป็น แสงสว่าง อุณหภูมิ แร่ธาตุ ความชื้น PH ความเค็ม กระแสลม กระแสน้ำ ฯลฯ มีผลต่อสิ่งมีชีวิตในหลายๆด้านเช่น
จำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง
การแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิต
จำนวนประชากรสิ่งมีชีวิต
รูปร่างลักษณะของสิ่งมีชีวิต
พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต
อิทธิพลของมนุษย์ทีมีต่อสิงแวดล้อม
การมีชีวิตของเราทุกคนบนโลกนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งแวดล้อม ทั้งที่เกิดเองโดยธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น อันได้แก่ ระบบสังคมและวัฒนธรรมสำหรับเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมอยู่ตรงที่ว่าได้เกี่ยวข้องกับทุกสิ่งทุกอย่างบนพื้นผิวโลกที่มวลชีวิตอาศัยอยู่ ซึ่งเมื่อเราได้ศึกษาถึงความเป็นมาของสิ่งแวดล้อมของเราบนโลกที่เราอาศัยอยู่ เราก็จะพบว่าบริเวณที่เราอาศัยอยู่นี้เคยอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเกื้อหนุนให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ตลอดมา แต่ในปัจจุบันนี้กลับได้ปรากฎว่าความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติได้ลดน้อยลงจนน่าวิตก และทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเราก็ได้ตกอยู่ในสภาพของความเสื่อมโทรมจนเห็นชัด ซึ่งตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรม ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติก็คือ มนุษย์เรานี่เอง สาเหตุประการสำคัญก็คือ การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกซึ่งได้นำไปสู่ปัญหาการขยายตัวของเมืองและกิจการทางด้านอุตสาหกรรม ตลอดจนการคิดค้นนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้โดยขาดการศึกษาถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลก็คือ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติทั้งที่เกิดใหม่ไม่ได้ เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน และที่เกิดใหม่ได้ เช่น ต้นไม้ สัตว์ ก็เกิดไม่ทันกับการบริโภคของคนและโรงงานอุตสาหกรรม ร่อยหรอและขาดแคลนลงทุกที ขณะเดียวกันเมื่อทั้งคนและโรงงานอุตสาหกรรมได้บริโภคทรัพยากรธรรมชาติในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น ทำให้มีการปล่อยทิ้งของเสียออกมาสู่สิ่งแวดล้อม ผลก็คือทำให้น้ำเน่าเสีย อากาศเป็นพิษ และดินเสื่อม